ไททรันมีทะเลสาบ

   
 


 

 

ติดต่อทีมงาน

กิจกรรมของชมรม

กำหนดการค่ายต่างๆ

ทักทายกันก่อน

ข่าวประกาศ

เรื่องดีๆมีให้อ่าน

=> ตากับตีน

=> กลุ่มดาว88กลุ่ม

=> ไททรันมีทะเลสาบ

=> ดวงดาวของชาวนา

=> ดวงดาวของชาวเหนือ

=> ดวงดาวของชาวอิสาน

=> ดวงดาวของชาวใต้

=> ปรากฎการณ์บนท้องฟ้า

ภาพค่ายโรงเรียนต่างๆ

เว็บบอร์ด

ขำ- ขำ - ขำ - ขำ

แหล่งข้อมูลชาววิทย์

นิทานดาว

 


     
 

นักดาราศาสตร์ยืนยัน ไททันมีทะเลสาบจริง

ทะเลสาบที่ราบเรียบราวกระจกเงาอันอบอวลไปด้วยไอหมอกไฮโดรคาร์บอนบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ตามจินตนาการของศิลปิน ภาพเช่นนี้เคยเป็นเพียงสันนิษฐานมาเป็นเวลานาน บัดนี้นักดาราศาสตร์สามารถยืนยันได้หนักแน่นว่า บนไททันมีทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนอยู่จริง   ยานแคสซีนี
ทะเลสาบที่ราบเรียบราวกระจกเงาอันอบอวลไปด้วยไอหมอกไฮโดรคาร์บอนบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ตามจินตนาการของศิลปิน ภาพเช่นนี้เคยเป็นเพียงข้อสันนิษฐานมาเป็นเวลานาน บัดนี้นักดาราศาสตร์สามารถยืนยันได้หนักแน่นว่า บนไททันมีทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนอยู่จริง 


2 สิงหาคม 2551 รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)

ในที่สุด นักวิทยาศาสตร์จากนาซา ก็ได้ข้อสรุปเป็นที่แน่นอนแล้วว่า บนไททันซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลวแน่นอนอย่างน้อยหนึ่งแห่ง

การยืนยันครั้งนี้ ทำให้ไททันกลายเป็นวัตถุในระบบสุริยะดวงที่สองนับจากโลกที่มีของเหลวอยู่บนพื้นผิว

ก่อนยุคของแคสซีนี นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไททันอาจมีทะเลหรือมหาสมุทรที่ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนเหลวเช่นอีเทนและมีเทนปกคลุมทั่วทั้งดวง แต่จากการที่แคสซีนีเฉียดเข้าใกล้ไททันมากว่า 40 ครั้ง ไม่พบหลักฐานของมหาสมุทรแบบที่ว่า แต่กลับพบสิ่งที่ดูเป็นแผ่นเรียบสีคล้ำที่ดูเหมือนทะเลสาบอยู่นับร้อยแห่ง แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสิ่งเหล่านั้นคือของเหลวจริงหรือไม่ หรืออาจเป็นเพียงวัตถุแข็งสีดำก็ได้

การค้นพบครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้อุปกรณ์ที่ติดอยู่บนยานแคสซีนี ตรวจหาองค์ประกอบทางเคมีที่อยู่ในวัตถุต่าง ๆ โดยอาศัยการดูดกลืนและสะท้อนรังสีอินฟราเรด

บรรยากาศของไททันประกอบด้วยไนโตรเจนถึง 95 เปอร์เซ็นต์ อีกห้าเปอร์เซ็นต์ที่เหลือคือมีเทน และยังมีอีเทนกับไฮโดรคาร์บอนพื้นฐานชนิดอื่นเป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดจากมีเทนในบรรยากาศสลายไปโดยแสงอาทิตย์

ไฮโดรคาร์บอนบางส่วนยังคงมีปฏิกิริยาต่อไปเป็นละอองลอยอยู่ในบรรยากาศ กลายเป็นม่านหมอกหนาปกคลุมพื้นผิวไททันจนดูขมุกขมัว ทำให้การจำแนกชนิดของวัตถุบนพื้นผิวทำได้ยากลำบาก ส่วนอีเทนเหลวจำแนกออกมาได้โดยใช้เทคนิคกำจัดสิ่งรบกวนจากไฮโดรคาร์บอนในบรรยากาศ

ทะเลสาบแห่งแรกที่ค้นพบนี้มีชื่อว่า ออนแทริโอลากัส อยู่บริเวณใกล้ขั้วใต้ของไททัน มีพื้นที่ประมาณ 20,200 ตารางกิโลเมตรหรือใหญ่กว่าทะเลสาบออนแทริโอเล็กน้อย

อีเทนที่พบในทะสาบออนแทริโอลากัสละลายอยู่ในมีเทนรวมถึงไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นและไนโตรเจนด้วย ที่อุณหภูมิพื้นผิว -185 องศาเซลเซียสของไททัน ทำให้สสารเหล่านี้อาจอยู่ได้ทั้งในรูปของเหลวและของแข็ง นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานมากมายที่แสดงถึงการระเหย การกลั่นตัวเป็นฝน และการไหลรินท่วมขังของไฮโดรคาร์บอนอยู่บนนั้น

บนโลกเรามีวัฏจักรของน้ำ ไททันก็มีวัฏจักรของมีเทนเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกัน การสำรวจนี้ยังพบว่าทะเลสาบนี้กำลังลดลง เนื่องจากพบคราบดำเกาะเป็นวงอยู่บนชายฝั่ง และยังพบตลิ่งที่ค่อย ๆ ปรากฏขึ้นในขณะที่ระดับของเหลวในทะเลสาบลดลงไป

นักดาราศาสตร์คาดว่าภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เรดาร์ของแคสซีนีจะพบทะเลสาบอีกมากบริเวณขั้วเหนือซึ่งจะทยอยปรากฏขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์กลับมาฉายพื้นผิวบริเวณนี้อีกครั้งตามฤดูกาล และเมื่อนั้นอุปกรณ์อินฟราเรดของแคสซีนีก็จะสามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทะเลสาบตามฤดูกาลได้ด้วย

ยานแคสซีนีพร้อมกับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ 12 ชิ้นออกเดินทางจากโลกเมื่อปี 2540 โครงการนี้โครงการร่วมระหว่างองค์การนาซา องค์การอีซา และองค์การอวกาศอิตาลี

ที่มา:

 

 
 

Today, there have been 78 visitors (95 hits) on this page!

 

 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free